ท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3

ท่าเรือกรุงเทพหรือท่าเรือคลองเตยเป็นท่าเรือพาณิชย์นาวีหลักของประเทศไทยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2490 และได้พัฒนาเทคโนโลยีและการบริการเรื่อยมา แต่ด้วยข้อจำกัดที่ไม่สามารถรองรับเรือพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่เกิน 12,000 DWT ยาวไม่เกิน 172 เมตร และกินน้ำลึกไม่เกิน 8 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางได้ จึงทำให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยต้องหาพื้นที่สำหรับการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่สามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญรุดหน้า

ใน พ.ศ. 2504 รัฐบาล จึงได้ว่าจ้าง บริษัท วิศวกรที่ปรึกษาเนเดโก (NEDECO) แห่งประเทศเนเธอร์แลนด์มาสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างท่าเรือพาณิชย์ที่ อ. ศรีราชา จ. ชลบุรี ซึ่งผลการสำรวจสรุปให้บริเวณแหลมฉบังมีความเหมาะสมในการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเนื่องจากเป็นบริเวณที่มีคลื่นลมน้อย พื้นดินบริเวณที่ต้องขุดร่องน้ำลึกเป็นทรายที่ง่ายต่อการขุดลอก และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่หลังท่าเรือที่สามารถใช้ประโยชน์ทางด้านพาณิชย์ อย่างโกดังเก็บสินค้า และเขตนิคมอุตสาหกรรม

แม้ว่าจะมีการสำรวจความเหมาะสม การก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังยังไม่ได้รับการอนุมัติในทันที แต่ชะลอไปจนกระทั่ง พ.ศ. 2516 จึงเริ่มดำเนินการเวนคืนที่ดินบริเวณ ต. ทุ่งสุขลา อ. ศรีราชา และ ต. บางละมุง อ.บางละมุง จ. ชลบุรี เป็นพื้นรวม 6,340 ไร่การดำเนินงานดังกล่าวสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 - 2529) ที่มีการกำหนดให้มีนิคมอุตสาหกรรมบริเวณแหลมฉบังเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม และในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 – 2534) ยังได้กล่าวถึงข้อจำกัดของท่าเรือกรุงเทพที่จุดอิ่มตัว ไม่สามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ และขยายปริมาณการรองรับตู้สินค้าได้อีกต่อไป

เมื่อการเตรียมการทุกอย่างพร้อมเต็มที่ พลเอกเปรม ติณณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยในขณะนั้น จึงมาเป็นประธานในการวางศิลาฤกษ์ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง ในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 และเปิดใช้ท่าเรือแหลมฉบังรวมถึงให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินการ ใน พ.ศ. 2534 เปิดท่าเทียบเรือ B1 เป็นท่าแรก และเปิดใช้มาจนกระทั่งปัจจุบัน

ชลบุรี ตั้ง "คณะกรรมการกำกับติดตามการพัฒนาเพื่อขยายขีดความสามารถท่าเรือแหลมฉบัง"

คำสั่งจังหวัดชลบุรี เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับติดตามการพัฒนาเพื่อขยายขีดความสามารถท่าเรือแหลมฉบัง

ภาพบรรยากาศงาน Market Sounding ระยะที่ 2 ท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3

Response to questions submitted and raised by Participants of MS3

Presentation ประกอบการสัมมนา
โดย สกรศ

Presentation ประกอบการสัมมนา
โดย ท่าเรือแหลมฉบัง

Presentation ประกอบการสัมมนา
โดย ที่ปรึกษาโครงการ

ประเทศไทยพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังให้กลายเป็นประตูการค้าแห่งอินโดจีน โดยตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าไปสู่ทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศพม่า ลาว มาเลเซีย และกัมพูชา การก่อสร้างโครงการขั้นที่ 1 จึงเน้นการออกแบบให้สามารถรองรับตู้สินค้าได้เพิ่มขึ้น และเพิ่มศักยภาพในการรองรับเรือตู้สินค้าที่ไม่สามารถเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือกรุงเทพได้

ลักษณะแอ่งจอดเรือ  รูปตัวยู (U)
ขนาดแอ่งจอดเรือ กว้าง 450 เมตร ยาว 1,600 เมตร
ความลึกบริเวณแอ่งจอดเรือ 14 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ความลึกร่องน้ำทางเดินเรือจากทะเลสู่ท่าเทียบเรือ 16 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ความยาวเขื่อนกั้นคลื่น 1,300 เมตร
ขนาดเรือที่สามารถรองรับได้ Panamax size (ขนาด 60,000 – 80,000 DWT บรรทุกตู้สินค้าได้มากกว่า 3,000 ทีอียู)
จำนวนท่าเทียบเรือ แบ่งเป็น 11 ท่า
ท่าเทียบเรือตู้สินค้าท่าเทียบเรือเอนกประสงค์ท่าเทียบเรือโดยสารและท่าเทียบเรือรถยนต์ (Ro/Ro)
ท่าเทียบเรือรถยนต์ (Ro/Ro) ท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไป ประเภทเทกอง (น้ำตาลและกากน้ำตาล) 5 ท่า

ความสามารถในการรองรับสินค้า 4.0 ล้านทีอียู

สิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภค
- ระบบคมนาคม ได้แก่ ถนน ทางรถไฟ
- ระบบสาธารณูปโภค ได้แก่ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์
- ระบบบำบัดน้ำเสีย
- สถานที่พักสินค้า ได้แก่ อาคารโรงพักสินค้า คลังสินค้า พื้นวางสินค้ากลางแจ้ง
- เครื่องจักรสำหรับขนย้ายตู้สินค้า ได้แก่ ปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่า ปั้นจั่นยกตู้สินค้าชนิดล้อยาง
- บริการเรือลากจูง และเรือบริการอื่นๆ
- อาคารบริการเรือศุลกากร
- อาคารศูนย์ควบคุมสมุทรเขตต์ เพื่อควบคุมท่าเรือแหลมฉบังและติดต่อสื่อสารกับเรือ

ปั๊มลมสกรู
ผู้นำด้านการผลิตปั๊มลมอุตสาหกรรม และจำหน่ายเครื่องปั๊มลมลูกสูบ เครื่องอัดลม เครื่องอัดอากาศ เครื่องอัดแก๊ส เครื่องทำลมแห้ง ปั๊มลมสกรู ปั๊มลมลูกสูบใหม่ ปั๊มลมมือสอง สภาพดี Biogas Compressor และอะไหล่ปั๊มลมทุกชนิด และให้บริการเช่าปั๊มลม ซ่อมเครื่องปั๊มลมทุกยี่ห้อ รวมถึงบริการหลังการขายทั้งแบบรายครั้งและรายปี
Thai fish sauce
โรงงานรับผลิตน้ำปลา ระยอง รับทำแบรนด์ OEM น้ำปลา ผลิตน้ำปลาคีโต ผลิตจากปลาไส้ตัน วัตถุดิบที่ใช้มีความสดใหม่ผ่านการคัดสรรคุณภาพมาเป็นอย่างดี หมักมากกว่า 14 เดือน ประสบการณ์ผลิตน้ำปลา กว่า 70 ปี
Rice Paper Salad Rolls
Rice noodles & Rice Sticks, Mulberry leaf rice sticks, Red jasmine rice sticks, Brown jasmine rice sticks, Black jasmine rice sticks, Rice Flakes​
บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ สมุทรปราการ
โรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการเกษตร สมุทรปราการ | เรามีชิ้นส่วนอะไหล่ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการเกษตร ที่มีคุณภาพสูง อีกทั้งยังเป็นผู้นำในการนำเข้าชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ที่มีคุณภาพมากที่สุด งาน Cold Forging งาน Hot Forging High Tension Bolt

หลังจากที่ท่าเรือแหลมฉบัง โครงการขั้นที่ 1 ต้องรองรับตู้สินค้าจนทะลุขีดความสามารถ รัฐบาลจึงเร่งผลักดันแผนการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง โครงการขั้นที่ 2 เพื่อให้สามารถรองรับตู้สินค้าได้มากยิ่งขึ้น โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถรองรับตู้สินค้าได้ถึง 6.8 ล้านทีอียู

ลักษณะแอ่งจอดเรือ รูปตัวยู (U)
ขนาดแอ่งจอดเรือ กว้าง 500 เมตร ยาว 1,800 เมตร
16 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ความลึกร่องน้ำทางเดินเรือจากทะเลสู่ท่าเทียบเรือ 16 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ความยาวเขื่อนกั้นคลื่น สร้างแนวเขื่อนเพิ่มจากเดิม 1,900 เมตร รวมเป็น 3,200 เมตร
ขนาดเรือที่สามารถรองรับได้ Post Panamax (ขนาด 80,000 DWT บรรทุกตู้สินค้าได้มากกว่า 5,000 ทีอียู)
จำนวนท่าเทียบเรือ แบ่งเป็น7 ท่าท่าเทียบเรือตู้สินค้า                                              
ท่าเทียบเรือรถยนต์ (Ro/Ro) และเรือสินค้าทั่วไป6 ท่า
1 ท่า
ความสามารถในการรองรับสินค้า 6.8 ล้านทีอียู

อ่านเพิ่มเติม คลิก

ท่าเรือแหลมฉบัง โครงการขั้นที่ 3 ได้เพิ่มเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวก เพิ่มความรวดเร็วในการบริหารจัดการ รวมไปถึง การช่วยลดมลพิษ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีตัวอย่างเครื่องจักรและเทคโนโลยีมีดังต่อไปนี้

- เครนยกตู้หลังท่าแบบไร้คนขับ (Automated Stacking Crane, ASC) ใช้บริเวณลานกองตู้สินค้าหลังท่า เพื่อยกตู้สินค้าขึ้นหรือลงจากรถขนส่ง

- รถลำเลียงตู้สินค้าแบบไร้คนขับ (Automated Guided Vehicles, AGV) ใช้ขนส่งตู้สินค้าระหว่างลานกองตู้สินค้าหลังท่ากับบริเวณหน้าท่า จากนั้นเครนตู้สินค้าหน้าท่าจะยกสินค้าขึ้นหรือลงเรือต่อไป

- เครนหน้าท่า (Gantry Crane) สามารถยกตู้สินค้าขนาด 20 ฟุต ได้พร้อมกัน 2 ตู้โดยใช้แคร่ยก

- เรือขุดลอกไฟฟ้า (Electric Dredging) เป็นเรือขุดลอกที่ใช้พลังงานไฟฟ้าบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ แต่เหมาะกับการบำรุงรักษาร่องน้ำเท่านั้น

- ระบบจ่ายไฟฟ้า (Cold Ironing) ให้กับเรือที่มาเทียบท่า เป็นการลดการใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสะอาดสำหรับระบบไฟฟ้า แสงสว่าง ระบบทำความเย็น ระบบทำความร้อน และระบบปรับอากาศในเรือ

- ท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Port) เปิดบริการท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ โดยลดปริมาณการใช้กระดาษ เปิดระบบเครือข่ายข้อมูลความเร็วสูงระหว่างกรมศุลกากร ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรืออื่นๆ ระบบการตรวจสอบการขนส่งสินค้า ณ สถานีตรวจสอบสินค้า โดยใช้เทคโนโลยี RFID และผนึกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Seal)

โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ที่รัฐบาลต้องการเร่งพัฒนาให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อให้มีการเชื่อมต่อและขนส่งสินค้าไปยังกลุ่มประเทศ CLMV ( กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม ) และประเทศจีนตอนใต้ ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการขนส่งและกระจายสินค้าที่สำคัญของภูมิภาค และเตรียมผลักดันให้เป็นท่าเรือชั้นนำของโลก

โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 มีมูลค่าการลงทุนเบื้องต้นประมาณ 1.5 แสนล้านบาท โดยจะมีรูปแบบการดำเนินการแบบให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership: PPP) มีระยะเวลาการดำเนินโครงการนับตั้งแต่การก่อสร้างและให้บริการรวมประมาณ 30-50 ปี โดยมีแผนการก่อสร้าง 8 ปี คาดว่าจะเริ่มเปิดดำเนินการได้ภายในปี 2568

ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการศึกษาและสำรวจผลกระทบต่างๆ ของโครงการ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และวิศวกรรม รวมถึงรายละเอียดผลตอบแทนของโครงการ โดยให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาของการท่าเรือแห่งประเทศไทยประเมินผลโดยละเอียด เพื่อให้เกิดผลกระทบทางลบน้อยที่สุด

โดยโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในครั้งนี้ ดำเนินการเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการขนส่งสินค้าทางน้ำให้แก่ประเทศ เพื่อเน้นย้ำถึงจุดยืนการเป็นเกตเวย์หลักในภูมิภาค การเป็นศูนย์กลางทางการค้า อีกทั้งเพื่อเพิ่มศักยภาพการเป็นท่าเรือน้ำที่ล้ำสมัยด้วยการบริหารจัดการด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ตลอดจนผสมผสานให้เป็นท่าเรือที่ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อม

โกดังสำเร็จรูป
โรงงานผู้ผลิตชิ้นส่วนอาคารเหล็กสำเร็จรูประบบ PEB. (Pre-Engineered Building) รับออกแบบ-สร้างโกดัง รับสร้างโรงงานสำเร็จรูป ขนาดใหญ่ โกดังน็อคดาวน์ โกดังเมทัลชีท สามารถรองรับรางเครน และทำเป็นสองชั้นได้ ราคาคุณภาพ พร้อมบริการออกแบบก่อสร้างครบวงจร
รับผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก
โรงงานกระดาษลูกฟูก รับผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก มีกำลังผลิตส่งออกรวดเร็ว แข็งแรง ได้มาตรฐาน ส่งมอบงานคุณภาพให้กับลูกค้า ผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกทุกรูปแบบโดยทีมงานผู้เชียวชาญ กล่องไดคัท, กล่องฝาเกย, กล่องฝาชน, กล่องลังกระดาษ ซึ่งมีประสบการณ์ในวงการกล่องกระดาษลูกฟูกมากกว่า 20 ปี

Q : การสร้างท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง โครงการขั้นที่ 3 เป็นการสร้างมลพิษเพิ่มขึ้นหรือไม่
A : หนึ่งในนโยบายที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยประกาศเกี่ยวกับการสร้างก่อสร้างโครงการนี้คือ ท่าเรือแหลมฉบังจะต้องเป็นท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Port) โดยการลดการปล่อยมลพิษ กวดขันให้มีการใช้พลังงานสะอาด อย่างพลังงานไฟฟ้า มีระบบจัดการน้ำเสียอย่างมีคุณภาพ และนโยบายอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อีกมากมาย (อ่านรายละเอียดได้ในหัวข้อ สร้างเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง รักษาสิ่งแวดล้อมยั่งยืน เรื่อง “ท่าเรือสีเขียว”)

Q : การก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังจะมีเสียงดังรบกวนหรือไม่
A : การท่าเรือแห่งประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของมลพิษทางเสียง จึงพยายามจำกัดความดังของเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมงไม่ให้เกิน 70 เดซิเบล ตามมาตรฐานของประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 ซึ่งการทางเรือแห่งประเทศไทยได้มอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาตรวจสอบความดังของเสียงที่วัดใหม่เนินพะยอมตลอดระยะเวลาก่อสร้างโครงการ

Q : การก่อสร้างจะเป็นการทำลายระบบนิเวศวิทยาหรือไม่
A : การท่าเรือแห่งประเทศไทยตระหนักในความสำคัญของความหลากหลายในระบบนิเวศวิทยา ไม่ว่าจะเป็นแพลงก์ตอน สัตว์น้ำ ปะการัง จึงมอบหมายให้ทีมที่ปรึกษาศึกษาผลกระทบ และแนวทางแก้ไขจัดการในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัย

Q : การสร้างโครงการขั้นที่ 3 จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมจริงหรือไม่
A : การก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังโครงการที่ 3 ประชาชนคนไทยทุกคนได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจไม่ทางตรงก็ทางอ้อมอย่างแน่นอน ในเบื้องต้นตลอดระยะเวลาการก่อสร้างจะต้องมีการซื้อวัสดุ ค่าก่อสร้าง และการลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าและบริการที่ผลิตในประเทศ เมื่อขายสินค้าได้ ผู้ที่ขายสินค้าจึงซื้อสินค้าจากผู้ผลิตเพิ่ม เกิดการจ้างงานและมีเม็ดเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจการลงทุนของประเทศ หรือที่เรียกว่า Multiplier effect

Q : การก่อสร้างโครงการขั้นที่ 3 จะมีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมหรือไม่
A : ก่อนการก่อสร้างโครงการ จะมีการประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยมีการจัดสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและความวิตกกังวลของประชาชนในพื้นที่และผู้ที่สนใจ เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ผลกระทบในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นการสัมมนาแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพการประเมินและการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพการทบทวนร่างรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
นอกจากนี้ยังมีการสำรวจภาคสนาม ติดตามตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม และเก็บข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่เพื่อประกอบการวิเคราะห์ระดับผลกระทบอีกด้วย


laemchabangportphase3.com - บริการอย่างมืออาชีพ

สนใจติดต่อโฆษณา support@geniusgraphic.com

@2024 laemchabangportphase3.com