รู้หรือไม่ใน พ.ศ. 2552 ประเทศไทยติดหนึ่งในสามของประเทศที่มีท่าเรือที่มีตู้สินค้าผ่านมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือที่มีตู้สินค้าผ่านมากที่สุดอันดับที่ 20 ของโลก (World busiest port) ตามการจัดอันดับของ The American Association of Port Authorities และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 - 2551 ปริมาณตู้สินค้าที่ผ่านท่าเรือแหลมฉบังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ย 11 – 13 เปอร์เซ็นต์ต่อปี แต่ต้องมาชะงักใน พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจของโลกชะลอตัว แต่บริษัทที่ปรึกษาได้ประมาณการณ์เบื้องต้นว่าหลังจากพ้นวิกฤตเศรษฐกิจแล้ว การเติบโตของปริมาณการเข้าออกสินค้าน่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ต่อปี หมายความว่าใน พ.ศ. 2559 ปริมาณตู้สินค้าที่ผ่านท่าเรือแหลมฉบังจะสูงเกิน 10 ล้านทีอียู และใน พ.ศ. 2563 จะมีปริมาณสินค้าสูงถึง 16 ล้านทีอียู ซึ่งสูงเกินขีดความสามารถของโครงการขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2

การสร้างท่าเรือแหลมฉบัง โครงการขั้นที่ 3 จึงเป็นการรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและของภูมิภาคที่มีการเปิดเสรีทางการค้า ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) โดยเชื่อมโยงและยกระดับท่าเรือแหลมฉบังเป็นประตูสู่ภูมิภาคทางทะเล พร้อมเพิ่มศักยภาพด้านโลจิสติกส์ด้วยการเชื่อมโยงการขนส่งระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะทางทะเลและทางอากาศ (ท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)

สิงคโปร์ - เซียงไฮ้ - ฮ่องกง - เสินเจิ้น - ปูซาน - กวางเจา - ดูไบ - หนิงปอ - ชิงเต่า - ร็อตเทอร์ดาม

DWT ย่อมาจาก Dead Weight Tonnage คือ น้ำหนักรวมของสินค้า วัสดุคงคลังและเชื้อเพลิงที่เรือบรรทุกไป มีหน่วยวัดเป็นตัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถในการบรรทุกสินค้า ความเร็วเรือ ระยะปฏิบัติการ จำนวนลูกเรือและผู้โดยสาร

TEUs ย่อมาจาก Twenty-foot คือ หน่วยนับสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ความยาว 20 ฟุต โดยตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุต เท่ากับ 1 ทีอียู ตู้คอนเทอนเนอร์ 40 ฟุต เท่ากับ 2 ทีอียู

เรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ เรือตระกูล Mærsk สัญชาติเดนมาร์ก ของบริษัท Mærsk Line มีทั้งหมด 7 ลำ เรือลำแรกที่ออกจากอู่ ชื่อ Emma Mærsk (พ.ศ. 2549) ขนาดเรือยาว 397.7 เมตร กว้าง 56.4 เมตร บรรทุกสินค้าได้มากถึง 14,770 ทีอียู

ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือที่มีสินค้าเข้าออกมากที่สุดในประเทศไทย เฉลี่ยประมาณ 10,000 เที่ยวต่อปี ในจำนวนดังกล่าวมีเรือหลากหลายประเภทแวะเข้ามาจอดเทียบท่า ดังต่อไปนี้

- Feeder เป็นเรือตู้สินค้าขนาดเล็ก ที่สิ่งระหว่างท่าเรือหลักกับท่าเรือย่อย บรรทุกสินค้าไม่เกิน 500 ทีอียู
- Feedermax เป็นเรือตู้สินค้าขนาดเล็กเช่นเดียวกับ Feeder แต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย สามารถบรรทุกสินค้าได้ 500 – 1,000 ทีอียู
- Handy สามารถบรรทุกสินค้าได้ปรมาณ 1,000 – 2,000 ทีอียู
- Sub-Panamax เป็นเรือตระกูล Panamax ขนาดเล็ก สามารถบรรทุกสินค้าได้ประมาณ 2,000 – 3,000 ทีอียู
- Panamax เป็นเรือสินค้าขนาดใหญ่ขึ้นมา มักใช้ขนสินค้าระหว่างท่าเรือหลักทั่วโลก สามารถบรรทุกสินค้าได้ 3,000 – 5,000 ทีอียู
- Post-Panamax เป็นเรือสินค้าขนาดใหญ่ สามารถบรรทุกสินค้าได้ 5,000 – 10,000 ทีอียู
- Car-Carrier เป็นเรือที่ใช้ในการขนส่งรถยนต์ข้อมูลอ้างอิง : ขนาดเรือบรรทุกสินค้า (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554)

laemchabangportphase3.com - บริการอย่างมืออาชีพ

สนใจติดต่อโฆษณา support@geniusgraphic.com

@2024 laemchabangportphase3.com