Q : การสร้างท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง โครงการขั้นที่ 3 เป็นการสร้างมลพิษเพิ่มขึ้นหรือไม่
A : หนึ่งในนโยบายที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยประกาศเกี่ยวกับการสร้างก่อสร้างโครงการนี้คือ ท่าเรือแหลมฉบังจะต้องเป็นท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Port) โดยการลดการปล่อยมลพิษ กวดขันให้มีการใช้พลังงานสะอาด อย่างพลังงานไฟฟ้า มีระบบจัดการน้ำเสียอย่างมีคุณภาพ และนโยบายอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อีกมากมาย (อ่านรายละเอียดได้ในหัวข้อ สร้างเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง รักษาสิ่งแวดล้อมยั่งยืน เรื่อง “ท่าเรือสีเขียว”)
Q : การก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังจะมีเสียงดังรบกวนหรือไม่
A : การท่าเรือแห่งประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของมลพิษทางเสียง จึงพยายามจำกัดความดังของเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมงไม่ให้เกิน 70 เดซิเบล ตามมาตรฐานของประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 ซึ่งการทางเรือแห่งประเทศไทยได้มอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาตรวจสอบความดังของเสียงที่วัดใหม่เนินพะยอมตลอดระยะเวลาก่อสร้างโครงการ
Q : การก่อสร้างจะเป็นการทำลายระบบนิเวศวิทยาหรือไม่
A : การท่าเรือแห่งประเทศไทยตระหนักในความสำคัญของความหลากหลายในระบบนิเวศวิทยา ไม่ว่าจะเป็นแพลงก์ตอน สัตว์น้ำ ปะการัง จึงมอบหมายให้ทีมที่ปรึกษาศึกษาผลกระทบ และแนวทางแก้ไขจัดการในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัย
Q : การสร้างโครงการขั้นที่ 3 จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมจริงหรือไม่
A : การก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังโครงการที่ 3 ประชาชนคนไทยทุกคนได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจไม่ทางตรงก็ทางอ้อมอย่างแน่นอน ในเบื้องต้นตลอดระยะเวลาการก่อสร้างจะต้องมีการซื้อวัสดุ ค่าก่อสร้าง และการลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าและบริการที่ผลิตในประเทศ เมื่อขายสินค้าได้ ผู้ที่ขายสินค้าจึงซื้อสินค้าจากผู้ผลิตเพิ่ม เกิดการจ้างงานและมีเม็ดเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจการลงทุนของประเทศ หรือที่เรียกว่า Multiplier effect
Q : การก่อสร้างโครงการขั้นที่ 3 จะมีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมหรือไม่
A : ก่อนการก่อสร้างโครงการ จะมีการประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยมีการจัดสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและความวิตกกังวลของประชาชนในพื้นที่และผู้ที่สนใจ เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ผลกระทบในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นการสัมมนาแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพการประเมินและการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพการทบทวนร่างรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
นอกจากนี้ยังมีการสำรวจภาคสนาม ติดตามตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม และเก็บข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่เพื่อประกอบการวิเคราะห์ระดับผลกระทบอีกด้วย